เจ้าพระอัคร์บุตร (บุญมี รามางกูร)

พระอัคร์บุตร (บุญมี) หรือเจ้าพระอัคร์บุตรบุนมี นามเดิมท้าวสุวันนะบุนมี (สุวรรณบุญมี) พื้นเมืองพนมออกนามว่าราชาเจ้าโอกาส (ราซาเจ้าโอกาด) คัมภีร์สังกาดธาตุพระนมและมหาสังกาดธาตุพระนมโคดมเจ้าออกนามเต็มว่าพระมหาสมเด็จราชาธาตุพระนมบุรมมราชาเจดีมหาคุณ (พระมหาสมเด็ดราซาธาดตุพระนมบุรมมราซาเจดีมหาคุร)[1] ส่วนเอกสารพื้นพระบาทใช้ชาติหรือพื้นพระยาธรรมิกราชออกนามว่าเจ้าพระอัครบุตรสุตสุวัณณบุญมี (เจ้าพระอักคคบุตตสุตตสูวัณณบุนมี) หรือพระเจ้าอัครบุตราสุวัณณะ (พระเจ้าอัคคะบุตตราสุวัณณะ) และออกนามเต็มว่าพระมหาสมเด็จราชาธาตุพระนมบุรมเจดีย์มหาบุญ (พระมหาสมเด็ดราซาธาดตุพระนมบุรมมเจดีมหาบุร) เป็นอดีตกรมการกองบ้านธาตุพนมต่อมาเลื่อนเป็นขุนโอกาสปกครองกองข้าโอกาสพระธาตุพนมลำดับสุดท้ายเฉพาะฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงในอารักขาฝรั่งเศส ปัจจุบันคือบางหมู่บ้านในเมืองเซบั้งไฟแขวงคำม่วนและบางหมู่บ้านในแขวงสุวรรณเขต อดีตกรมการเมืองคำเกิด แขวงบอลิคำไซ ดำรงยศพระอัคร์บุตรคนแรกและคนเดียวของธาตุพนม[2] ทั้งเป็นผู้ตั้งสกุลบุคคละและเป็นต้นสกุลรามางกูร ณ โคตะปุระ[3] ของอำเภอธาตุพนม สมัยรัชกาลที่ ๔ ใน พ.ศ. ๒๔๐๓ เป็น ๑ ในเจ้านายลาวที่เข้าร่วมขบวนการผู้มีบุญองค์มั่นจากการสนับสนุนขององค์พระบาทและองค์ขุดจึงตั้งตนเป็นพระยาธรรมิกราชจากนั้นลี้ภัยการเมืองไปอยู่เวียงจันทน์จนถึงแก่กรรม